คัมภีร์อาการปวดคอบ่าไหล่ น่ากลัวกว่าที่คิด

#ปวดคอบ่าไหล่น่ากลัวกว่าที่คิด!!
#แชร์ได้นะครับ

#เพราะว่าเราอาจจะเป็นหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทโดยไม่รู้ตัว?
.
ทำไมหมอถึงกล้าพูดแบบนั้น
.
เพราะทุกวันนี้เราประมาทเกินไปกับอาการเจ็บปวดคอบ่าไหล่ครับ
.
อาการปวดคอบ่าไหล่ ดูเหมือน
เป็นอาการที่หลายๆคนเป็นอยู่
.
หรือ
หลายๆคนน่าจะมีอาการอยู่แต่ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ อาจจะเป็นลักษณะของอาการปวดเมื่อยแทน
.
เราจะปล่อยให้มันมีอาการปวดเรื้อรังจนมันแก้ไขได้ค่อนข้างยาก.

ถามว่า อาการปวดคอบ่าไหล่
มันอันตรายยังไง?🤔

จริงๆก็ไม่อันตรายหรอกครับ
ถ้าเป็นเพียงแค่กล้ามเนื้ออักเสบ
รักษาโดยการกินยา นวดผ่อนคลาย
อาการก็ดีขึ้นแล้วคร้บ
.
👉แต่ถ้ามันเป็นกล้ามเนื้ออักเสบแบบพังพืด
เอ็นอักเสบ
หรือเป็นมากถึง

.
>>
หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท😱
.
คราวนี้แหละครับ. อันตรายแน่ๆ
.
.
.
👨‍⚕️หมอขออนุญาตยกตัวอย่างคนไข้
ที่หมอเคยเจอมาล่ะกันนะครับ
.
เป็นคนไข้เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 30-40 ปี
มาผ่าตัดกระดูกที่บริเวณคอ.
โดยเหตุผลในการมารพคือ
เรื่องของ มีอาการชา
.
เมื่อได้ทำการซักประวัติกลับไป
บอกว่า ทำอาชีพเป็นsale พนักงานขาย
ขายอุปกรณ์อะไรสักอย่างที่ต้องมีการ
แบกเป้พาดบ่าอยู่ตลอดเวลา

จึงทำให้มีอาการปวดคอและบ่าอยู่เรื่อยมา
เป็นมาประมาณ 6 เดือน

ต่อมาเริ่มมีออาการชา โดย
ชาเป็นมา 2 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล
.
.
ตอนแรกหมอฟัง
หมอยังตกใจเลยว่าปล่อยเรื้อรังมานานถึง 6 เดือน

แล้วไม่ได้รักษาเลยหรอ?

คนไข้บอกว่า ก็ไปนวดเป็นประจำแต่อาการ
ก็ไม่หายขาด
ปวดมากก็ >>>ไปหาซื้อยาแก้ปวดทาน
เห็นว่าชา >>>ไปยาวิตามินบำรุงเส้นประสาท
แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น

…….👉 เรากำลังทำกันอยู่แบบนี้หรือเปล่าครับ?!
รักษาแบบคิดว่า เดียวก็ดีขึ้นเอง
ลองกินยาดู ลองนวดดูก่อน
แต่ไม่รู้สาเหตุที่ถูกต้อง
อันนี้หมออยากให้ระมัดระวังนะครับ

(ต่อ)
แต่พอชามากขึ้นเรื่อยๆ
จึงตัดสินใจมาโรงพยาบาล

หลังจากพบแพทย์
แพทย์ก็ได้ทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย
สงสัยว่าเป็นหมอนรองกระดูกคอทับ
เส้นประสาท
.
จึงได้มีการส่งตรวจเพิ่มเติมที่เรียกว่า
เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
.
และพบว่ามีหมอนรองกระดูกคอปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท
ที่บริเวณ
กระดูกคอชิ้นที่ 5 กับ 6 จริงๆ😱😱

ซึ่งสอดคล้องกับอาการชาที่ตรวจได้นั้น

👨‍⚕️แพทย์จึงได้ให้การรักษาโดยการ
กินยา ร่วมกับการทำกายภาพ

ก็คิดว่าอาการน่าจะค่อยๆดีขึ้น
แต่ผลปรากฎว่า อาการไม่ได้ดีขึ้นเลย

จึงพิจารณารักษาโดยการผ่าตัดแทน
.
.
แค่ปวดคอบ่า ต้องผ่าตัดด้วยหรอ?!
หลายคนอาจจะคิดแบบนั้น

ก็ถ้ารักษาโดยการไม่ผ่าตัดไม่ดีขึ้น
แพทย์ผู้ดูแลก็ต้องพิจารณาผ่าตัดเพื่อช่วย
แก้ไขอาการแทนครับ
.
ไม่เช่นนั้น การรักษาต่อไปใน
อนาคตจะทำได้ลำบากมากขึ้น
เพราะว่าเส้นประสาทได้รับความเสียหาย
หรือบาดเจ็บมากจนเกินไป
.
.
👨‍⚕️ดังนั้น ความรู้นี้
หมอจึงตั้งใจทำออกมาบอกเตือน
ให้ทุกคนตระหนักถึง อาการปวด
ซึ่งตอนแรกอาจจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ

ต่อมามันอาจจะขยายใหญ่มากขึ้น
จนรักษาได้ยากมากขึ้นก็เป็นไปได้
.
.
คราวนี้เราลองไปดูกันครับ
ว่า ภาวะหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
เป็นอย่างไร??
.
.
.
หวังว่าทุกคนจะเข้าใจ ได้ประโยชน์
และระมัดระวัง รวมทั้งดูแลอาการปวดคอบ่าไหล่
กันมากขึ้นนะครับ

#หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

👨‍⚕️ใช่ครับ โรคนี้เป็นภัยที่กำลังคืบคลาน
เข้ามาอย่างเงียบๆ
โดยเฉพาะคนที่มีอาการปวดเรื้อรัง
ปวดคอบ่าไหล่ตลอด
ที่หมอจะพูดถึงก็คือ
หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
อันนี้แหละครับ
.
ซึ่งหมออยากจะให้ทุกคนรู้จักและ
เข้าใจโรคนี้อย่างมาก
.
.
หมอจะบอกถึงอาการ ความเสี่ยง และการรักษา
ที่ใช้ในปัจจุบัน
โดยการมีการเปรียบเทียบกับ

อาการปวดคอบ่าไหล่ทั่วๆไปที่เป็นจากกล้าม
เนื้ออักเสบ กับ ภาวะหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

#สาเหตุ

👨‍⚕️มาเริ่มกันที่สาเหตุครับว่าเกิดจากอะไร
เกิดจากความดันในกระดูกสันหลังส่วนคอ
ที่มันสูงมากขึ้น.
ทำให้แรงไปโดนที่บริเวณหมอนรองกระดูก
จึงมีการออกมากดทับเส้นประสาทนั่นเอง

ลองสังเกตจากรูปจะเห็นว่า
มีหมอนรองกระดูกที่เบียดออกมา
ทับบริเวณเส้นประสาทนั่นเอง

หลายคนอาจจะสงสัย
แล้วทำไมความดันสูงมากขึ้น
อาจจะเกิดจากการทีมีน้ำหนักกดที่บริเวณ
กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนนี้มากเกินไป

ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้น
ออกมาจากตำแหน่งที่ควรจะเป็น
ไปกดทับเส้นประสาท

ก็คือหมอนรองกระดูกไปทับเส้นประสาทนั่นเอง

ซึ่งหลักการนี้ก็ใช้ได้เดียวกันกับหมองรองกระดูกหลังทับเส้นประสาทเช่นกัน
.

ความเสี่ยงได้แก่

คำถามต่อไป แล้วใครบ้างล่ะที่
มีโอกาสเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูก
คอทับเส้นประสาท

หมอขอยกตัวอย่างที่พบบ่อยๆล่ะกันนะครับ
ได้แก่.

📌เล่นมือถือ เล่นโทรศัพท์
📌ออฟฟิศซินโดรม คนที่ทำงานออฟฟิศ
📌ยกของหนัก
📌ขับรถนาน
📌อุบัติเหตุ…

เป็นต้น

แต่ในที่นี้หมอจะมาเน้น 2 ปัจจัยใน
ปัจจุบันที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงได้บ่อย
ก็คือ การเล่นโทรศัพท์ กับคนที่ทำงานออฟฟิศ
และมีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรม

หืม เล่นมือถือ เนี่ยนะค่ะ/ครับ คุณหมอ
ใช่ครับ. ตอนนี้โรคนี้กำลังมาแรงกันเลยทีเดียว

👨‍⚕️การที่เราเล่นมือถือ แค่นี้แหละครับ
ทำให้เรามีโอกาสที่อาจจะเป็น
หมอนรองกระดูกที่คอทับเส้นประสาท
ได้เลย😱😱

โรคย้อนฮิตติดอันดับคนเล่นมือถือ
มีชื่อว่า
>> 📕text neck syndrome

เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจนการเล่นมือถือ

ทุกคนลองสังเกตดูครับ
เวลาเราเล่นมือถือ
เราจะมีการก้มคอตลอด
แล้วรู้หรือไม่ว่าการที่เราก้มคอ

กล้ามเนื้อบริเวณคอ กระดูกบริเวณคอ
ตำแหน่งที่เราก้ม
รับนำหนักศีรษะของเราที่มี
น้ำหนักไม่น้อยเลยทีเดียว

นั่นแหละครับ
ทำให้ เกิดความดันในกระดูกสันหลังส่วนคอ
ที่มันสูงมากขึ้น.
ทำให้แรงไปโดนที่บริเวณหมอนรองกระดูก
จึงมีการออกมากดทับเส้นประสาทนั่นเอง

โดยอาการนำมาก่อนก็คือ
จะรู้สีกปวดเมื่อยๆ ตึงๆ
บริเวณคอโดยที่เราไม่รู้ตัว

👉วิธีการป้องกันภาวะtext neck syndromeนี้
เอาง่ายๆๆที่สุด !!!
ทำยังไงก็ได้ให้จอโทรศัพท์
อยู่ระดับเดียวกับสายตา
โดยที่เราไม่ต้องก้มคอ

อ่ะ หลายคนกำลังคิดว่าทำไม่ได้
ทำได้ครับ ลองดูก่อนนะครับ
.
.
.
ลองไปสังเกตดูนะครับ
อาการปวดคอบ่าไหล่ของเรา
อาจจะเกิดจากที่เราเล่นมือถือก็เป็นได้

ออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม โรคนี้หลายคนน่าจะรู้จักกันอยู่
แล้วน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีด้วยคร้บ

👨‍⚕️หมอขอพูดสั้นๆล่ะกันนะคร้บ

อาการปวดคอบ่าไหล่ ก็เกิดขึ้นในคนที่ทำงาน
ออฟฟิศ หรือนั่งโต้ะทำงานหน้าคอมเป็นประจำ
บ่อยๆ เนื่องจาก

สรีระที่เรานั่งทำงานกันนั้นไม่ถูกต้อง
เราจะมีการก้มคอมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เรามีอาการปวด

จริงๆออฟฟิศซินโดรม
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า แค่ปวดคอบ่าไหล่
จริงๆแล้วไม่ใช่เลยครับ

👉 ออฟฟิศ – office ทำงานในสำหนักงาน
👉 ซินโดรม – syndrome กลุ่มอาการ

>>> กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในการทำงานสำนักงานต่างๆ

มันคือ กลุ่ม เพราะฉะนั้น ไม่ใช่อาการเดียวแน่
ได้แก่. ปวดคอบ่าหล่ ปวดหัว ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา …..

ก็คือเกิดจากการที่สรีรไม่เหมาะสมนั่นเอง

กลับมาเรื่องของเรา
ก็เมื่อเราก้มคอบ่อยๆนานๆ ที่เรามองจอคอมพิวเตอร์

ทำให้เกิดความดันในกระดูกสันหลังส่วนคอ
ที่มันสูงมากขึ้น.
ทำให้แรงไปโดนที่บริเวณหมอนรองกระดูก
จึงมีการออกมากดทับเส้นประสาทนั่นเอง

เหมือนกับการก้มคอเล่นมือถือนั่นเอง

ดังนั้น ก็ระมัดระวังกันหน่อยนะครับ
หมอเป็นห่วงครับ😇

#อาการ
👨‍⚕️อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทเป็นอย่างไร…

ได้แก่ ปวดร้าว ชา อ่อนแรง

โดยอาการอาจจะไม่ต้องมีทั้งหมดก็ได้
แต่ถ้ามีทั้งหมดแสดงว่า
โอกาสในการเป็นก็มีสูงกว่าครับ

ทั้ง 3 อาการ
อาการอาจจะเป็นแบบทันทีทันใด
ก็ได้ เหมือนประมาณว่าเรายกของหนัก
แล้วมีเอวลั่น
แต่จริงๆถ้าเป็นจากหมอนรองกระดูกคอทับเส้น
หมอมักจะเจอในคนไข้ที่ค่อยๆสะสม
ความปวดมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วมีอาการขึ้นมาคร้บ

ปวดร้าว
เรามาดูจำเพาะเจาะจงของอาการกันครับ

👨‍⚕️เรามาเริ่มกันที่อาการปวดร้าว
คำว่าปวดร้าวในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าทุกคนที่มีอาการปวดร้าวจะเป็นหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทนะครับ

#ร้าวในที่นี้
จะรู้สึกเหมือนแปล็บๆ ไฟช็อต หรืออะไรบ้างอย่างที่มันเหมือนจะเกิดขึ้นไวๆ…

โดยส่วนใหญ่อาการปวดร้าวมักจะ
ร้าวไปที่แขน
.
แต่ในบางครั้งอาการปวดร้าวเราอาจจะสับสน
เพราะในบางครั้ง

บางคนปวดกล้ามเนื้ออักเสบมากๆๆ
จนกลายเป็นพังพืด. อันนี้ก็ปวดร้าวได้เช่นกัน

แต่ถ้าอาการของกล้ามเนื้ออักเสบ
จากการปวดเรื้อรัง
โดยมากจะเป็นอาการปวดเมื่อยแทน

👨‍⚕️ลองสังเกตดูครับ
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจก็ให้ลองไปปรึกษาแพทย์ดู
หรือดูว่าเรามีอาการอื่นๆร่วมด้วยอีกหรือเปล่า

เช่นอาการชา หรือ อ่อนแรง
ที่จะกล่าวต่อไปนะครับ

ชา

ขอเน้นกันอีกสักครั้ง
– ปวดคอบ่าไหล่ทั่วๆไปที่หลายๆคนเป็น ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหา
– แต่เมื่อไหร่ถ้ามี ****ชา หรืออ่อนแรง****.
– เกิดร่วมปัญหาใหญ่เกิดแล้วแน่นอนครับ

แล้วทำไมต้องปวดร้าวทำไมถึงชา
หรืออ่อนแรง?🤔

มาพูดถึงอาการชากันก่อน

👨‍⚕️หมออธิบายให้ทุกคนเข้าใจง่ายๆแบบนี้ครับ
เส้นประสาทของเรามี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ รับความรู้สึก / ควบคุมการทำงานต่างๆรวมถึงควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

อย่างแรก
#1เส้นประสาทรับความรู้สึก. ไม่ว่าจะเป็นร้อน
เย็น สัมผัส หรือเรารู้สึกอะไรก็แล้วแต่ก็จะส่งไปที่ไขสันหลัง แล้วไปที่สมอง

เช่น มือเราไปจับน้ำแข็ง. >>> เรารู้สึกเย็น >>> เส้นประสาทรับความรู้สึก รับรู้ >>> ไขสันหลัง
>>> ไปที่สมอง.

เราก็จะเริ่มคิดแล้วว่าเย็น
ควรปล่อยมือจากน้ำแข็ง เพราะมันเย็น
อาจจะเกิดอันตรายกับเรา

หรืออย่างเช่น
เราเดินอยู่ดีๆ เผลอไปเหยียบตะปูเข้า
>>> เท้าเราจะกระโดดทันที เพราะว่าเป็นการตอบสนอง ป้องกันของร่างกาย. >>> ว่าเราเจ็บ

👉 ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เส้นประสาทนี้บาดเจ็บ.
>>> เราจึงรับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป และที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ ชา นั่นเอง
เราก็จะไม่รู้สึก เย็น หรือรู้สึกเจ็บ ตามตัวอย่างข้างต้นนั่นเอง

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นหมอนรองกระดูกคอทับ
เส้นประสาทมักจะชาที่บริเวณคอ หรือแขน

อาการอ่อนแรง

อ่อนแรงเกิดได้อย่างไร

จากที่เมื่อสักครู่ได้กล่าวไปแล้ว
เส้นประสาทของเรามี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ รับความรู้สึก / ควบคุมการทำงานต่างๆรวมถึงควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
คราวนี้เรามาว่ากันถึงกลุ่มที่2

#2เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ. เส้นประสาทกลุ่มนี้จะทำหน้านี้เกี่ยวกับให้เรามีการขยับของกล้ามเนื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นแขนขา หรือบริเวณใดก็แล้วแต่.

เช่น สมมติว่าเราจะยกมือขึ้น🙋‍♀️

สมองสั่งการ. >>> ไขสันหลัง >>> เส้นประสาทที่มาที่กล้ามเนื้อที่ใช้ยกมือ. >>> กล้ามเนื้อรับรู้ >>> มือเราจึงยกขึ้นได้นั่นเอง

👉 ดังนั้น. ในคนที่มีหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทถูกกระทบกระเทือน เส้นประสาทกลุ่มนี้จึงทำงานไม่ได้

ทำให้เรารู้สึก อ่อนแรง หรือไม่มีแรง
ในการขยับกล้ามเนื้อนั่น ๆ

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ของโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท มักจะเป็นกล้ามเนื้อแขน

เราก็อาจจะยกแขนได้ยากขึ้น
หรือรู้สึกไม่สะดวกสบายนั่นเอง

เพราะฉะนั้นสรุปก็คือ
เมื่อใดถ้าคุณ อ่อนแรง/ชา แล้ว
ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วนครับ
ไม่ต้องพยายามที่จะรักษาเองแล้วนะครับ

อันนี้หมอซีเรียสจริงๆครับ

เพราะถ้าช้า ปล่อยให้เส้นประสาทโดนทับ
หรือถูกทำลายนานๆ แล้วค่อยมาแก้ไข
มันจะแก้ได้ยากมาก…คร้บ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นหรือเปล่า?

ปกติถ้าเราไปหาหมอ
👨‍⚕️หมอก็จะมีการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด. พร้อมทั้งส่งตรวจเอ็กเรย์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติม

โดยที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะนี้ได้ดีก็คือ(MRI)
การทำเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การทำเอ็กซเรย์ชนิดนี้จะทำให้แพทย์
เห็นพยาธิสภาพได้มากขึ้น

อันนี้ปล่อยให้เป็นเรื่องของแพทย์ไปแล้วกันครับ

👨‍⚕️สำหรับเราหรือทุกๆคน
ก็เมื่อไหร่ ที่เราเริ่มมี
ปวดคอบ่าไหล่ >>> ร้าวลงแขน
มีอาการ ชา หรือ อ่อนแรง ร่วมด้วย

ก็ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเลยนะครับ

เพราะนั่นเป็นสัณญาณเตือนที่ค่อยดีแล้ว

หมอขอเน้นแล้ว เน้นอีกเลยนะครับ

ถามว่าทำไมหมอเน้นก็เพราะหมอไม่อยากให้
ทุกๆคนต้องประสบปัญหาเหมือนคนไข้
ที่หมอเจอไงครับ

การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี
อันได้แก่

1.จัดการที่สาเหตุ
2.การกินยาแก้ปวด
3.การนวด (ช่วยได้เฉพาะในกล้ามเนื้ออักเสบ)
4.การทำกายภาพ
5.การฝังเข็ม (แพทย์ทางเลือก)
6.การผ่าตัด

งั้นเราไปดูต่อกันเลยครับว่า
แต่ละอย่างมีจุดสังเกต
ข้อดีข้อเสีย
อย่างไรบ้าง

จัดการที่สาเหตุ

#ข้อนี้สำคัญที่สุด
👨‍⚕️สำหรับคนที่มีอาการไม่มาก
ให้รีบไปจัดการที่สาเหตุครับ ถ้าเรารู้แล้วว่าเราเป็นสาเหตุอะไรก็ไปแก้ตรงนั้น

เพราะเรารู้แล้วใช่ไหมครับว่า ถ้าปล่อยให้อาการเป็นเรื้อรังไปนานๆ. ก็จะลงเอยเหมือนคนไข้ที่หมอเจอมา. นั่นคือ ต้องไปผ่าตัด
.
.
ดังนั้นเช็คตัวเองดูครับ ว่าเป็นจากอะไรแล้วจัดการที่สาเหตุนั้น

ตัวอย่างคนไข้ที่หมอพูดถึงตั้งแต่ตอนแรก

ถ้าคนไข้คนนี้รู้ตัว ไม่ปล่อยให้เป็นนาน
รู้แล้วว่าสาเหตุของเราเกิดจากการยกของหนัก

หลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก ไม่ชะลาใจจนเกินไป
แล้วมองข้ามเรื่องของปัญหา
ก็คงไม่ต้องมาผ่าตัด ลำบากแบบนี้หรอกครับ

การกินยาแก้ปวด

การกินยาก็เป็นทางเลือกการรักษาในข้อหนึ่ง
ที่เราทำกันประจำ

👨‍⚕️หมอมั่นใจว่าทุกคนต้องเคยปวด
แล้วก็ต้องหายากิน
แต่หลายคนไม่น้อยเลยที่ทานยากันผิด❌

ในที่นี้หมอก็ขอแนะนำสั่นๆเบื้องต้นไว้อย่างนี้ครับว่า. ทานยาแก้ปวด เวลาที่เราปวด
ตามความเหมาะสม
สำหรับปวดคอบ่าไหล่ทั่วๆไป ที่ไม่ได้เป็นจาก
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

👉 ชนิดของยาที่แนะนำก็คือ
ยาพาราเซตามอลทั่วๆไป
ร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
(NSAIDs)
(ระมัดระวังอย่างยิ่งยวดในคนที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคไต)

บางทีอาจจะพิจารณายาคลายกล้ามเนื้อ
มาช่วย(เสริม)ฤทธิ์แก้ปวดได้อีกด้วย😇

แต่ถ้าเมื่อไหร่ มีอาการปวดร้าว
แล้วสงสัยว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้ว
การทานยาเพียงแค่นั้นอาจจะไม่เพียงพอ

เราอาจจะต้องพิจารณา
#ยาแก้ปวดเส้นประสาทร่วมด้วยในการรักษา
นะครับ

อันนี้แหละที่หลายคนไม่รู้ แล้วไปรักษากันเอง
แล้วทำไมมันถึงไม่หาย

ซึ่งต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจาก
แพทย์เสียก่อน

🎯คำเตือนก่อนการทานยา🎯
โปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกร ก่อน
การทานยาทุกครั้ง

การนวดผ่อนคลาย

👨‍⚕️การนวดผ่อนคลาย ก็เป็นการแก้ปวดได้ดี
อีกวิธีหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อที่หดตัวผ่อนคลายช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
อาการปวดของเราจึงลดลง

แต่อาจจะมีประโยชน์ในกลุ่มกล้ามเนื้ออักเสบมากกว่ากลุ่ม หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

แต่จะว่าไม่มีประโยชน์เลยในกลุ่มของ
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็อาจจะไม่ขนาดนั้น. แต่แนะนำให้ทำภายใต้
คำแนะนำของแพทย์นะครับ

เพราะถ้าเราไปกดหรือนวดในตำแหน่ง
ที่มีปัญหามากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอ้นตรายได้
.
.
.
ขออธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อย
ถ้าเราเป็นเพียงแค่ปวดเมื่อยจากกล้ามเนื้ออักเสบแล้วไปนวด

การนวด ต้องเอาพอดีๆ
🙅‍♀️🙅‍♀️ ห้ามนวดมากหรือแรง
จนเกินไปเพราะจากที่จะเป็น
การคลายกล้ามเนื้อ จะกลายเป็นการที่ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบแทน

👉ลองสังเกตตัวเองดูครับ
หลังจากที่เรานวดเสร็จแล้ว
ถ้ากลับบ้านเรารู้สึกปวดเพิ่มขึ้น หรือตัวร้อนเหมือนจะมีไข้ ถือว่าผิด❌❌❌

หลักการ : เอาแค่พอรู้สึกผ่อนคลาย
ไม่ต้องไปเน้นๆ ย้ำๆมากเกินไป

การทำกายภาพ

การทำกายภาพ
มีบทบาทมากๆครับ กับการรักษา
หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

เพราะจะช่วยลดอาการปวดได้ดี
และทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว

โดยหลักการของการทำกายภาพนั้น
คือการยืดเหยียด ผ่อนคลาย
กล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้เกิดความยืดหยุ่น
และลดอาการปวดได้

สำหรับในท่าบริหารทั่วๆไปนั้น
ก็จะเหมาะสมสำหรับช่วยลด
คนที่มีอาการปวดของกล้ามเนื้อได้

แต่ในคนที่เป็นหมอนรองกระดูกคอทับเส้น
ประสาทนั้น ควรอยู่ในความดูแล
ของแพทย์อย่างใกล้ชิดมากกว่า

เพราะถ้าทำผิดวิธี แทนที่จะได้หายปวด
แต่กลายเป็นปวดมากขึ้น

หรือถ้าใครลองทำตามท่ากายภาพพื้นฐาน
หลักการคือ ทำแล้วต้องไม่ปวด

ถ้าทำกายภาพเองแล้วปวด>>>ไม่ดีนะครับ

👨‍⚕️การฝังเข็ม

ทางออกหนึ่งของการรักษาปวดได้
จึงใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา
คนไข้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เช่นกัน

เนื่องจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ
และองค์การอนามัยโลก(WHO)👨‍⚕️👩‍⚕️
ตระหนักดี
ว่าการฝังเข็มมีประสิทธิภาพ
ในการรักษาโรคทางการแพทย์กว่า 40 ชนิด
ทำให้ตอนนี้ไม่ใช่แค่ประเทศจีน
ที่ใช้ศาสตร์นี้ แต่แพทย์แผนตะวันตกเริ่ม
นำศาสตร์นี้มาใช้รักษาคนไข้มากขึ้น
.
โดยเฉพาะเรื่องของอาการปวด
เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ เหมือนที่เรากำลังพูดถึงกัน
ในตอนนี้

.
เนื่องจาก
มีงานวิจัยกล่าวว่า
การฝังเข็มก่อให้เกิดกลไกของตัวเอง
ในการผลิตและการปลดปล่อยสารเคมี
เพื่อบรรเทาอาการปวดของตัวเอง
ด้วยตัวเราเอง
.
👉 สารเคมีเหล่านี้คือ
endorphins (สารแห่งความสุข)😊
และ dopamine 😊
อีกทั้งสารประกอบคล้าย opioid😊
(กลุ่มยาแก้ปวดชนิดรุนแรง เช่น มอร์ฟีน)
ที่สร้างความรู้สึกเป็นอยู่ที่ดี
และลดอาการปวดได้อีกด้วย

การฝังเข็มจึงเป็นการบำบัดด้วยธรรมชาติ
โดยการปรับสมดุลร่างกาย
ให้เข้าสู่ภาวะที่ปกติที่สุดได้ดีวิธีหนึ่ง
.
หมอเองก็เป็นหมอที่
ใช้ศาสตร์นี้รักษาคนไข้ปวด
ผลลัพธ์ก็ดีพอสมควร

ดังนั้นสำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องปวด
ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ
หรือเป็นหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
อย่างที่เราพูดถึงกันนี้

ก็ลองแนะนำไปรักษา
แพทย์ทางเลือกนี้ดูได้นะครับ

การผ่าตัด

ใครที่มาถึงการรักษาโดยวิธีนี้ แสดงว่า
อาการคงมากจริงๆครับ
หมอไม่อยากให้ทุกคนต้องมาถึง
การรักษาโดยขั้นตอนนี้เลย

สำหรับการผ่าตัด. หมอขออธิบายดังนี้

👨‍⚕️การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกต้นคอเคลื่อนทับเส้นประสาท ( Anterior Cervical Discectomy and Fusion

#แพทย์จะข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดดังนี้

คือ แพทย์จะทำในผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดร้าวลงแขน และมือ จากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ในคนไข้ที่อาการแย่ลง หรืออาการไม่ดีขึ้น หลังจากได้รับการรักษาด้วยยา
หรือกายภาพแล้ว

#หลักการผ่าตัดก็คือ

👉 ง่ายนิดเดียว อย่างที่บอกอาการปวดร้าวดังกล่าวเกิดจากหมอนรองกระดูกไปทับ เส้นประสาท

การผ่าตัดก็ไปเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับนั้นออก แล้วเมื่อเอาออก ก็จะเกิดโพรงช่องว่างระหว่าง กระดูกสันหลังคอชิ้นบน และชิ้นล่าง ซึ่งแพทย์ต้องหาอะไรมาใส่ทดแทน
อันได้แก่

1. ใส่กระดูกของผู้ป่วย(โดยจะนำมาจากกระดูกสะโพก) มาใส่ทดแทน สุดท้ายกระดูกจะเชื่อมติดกันเป็นชิ้นเดียวกัน(Fusion)

ข้อดี คือ กระดูกติดเร็ว, ราคาประหยัด ข้อเสีย คือ ต้องปวดแผลผ่าตัดที่สะโพกอีกตำแหน่งเพื่อนำกระดูกสะโพกมาใช้

2. ใส่หมอนรองกระดูกเทียม เข้าไปทดแทน
ก็จะมีรายละเอียดลึกลงไปอีก
หมอขอไม่กล่าวมา ณ ที่นี้ล่ะกันครับ

Share this
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn