คัมภีร์หายปวดเข่าเสื่อม

#หายปวดเข่าเสื่อมได้แน่นอนถ้าทำตามนี้!
#แชร์บอกคุณพ่อแม่กันนะครับ
.
#ข้อเข่าเสื่อม
เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเจอ
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
แม้กระทั่งตัวหมอเอง
เมื่อถึงวันหนึ่งที่อายุมากขึ้น
โดยปกติก็จะประมาณ60 ปีขึ้นไป😅
.
แต่ในปัจจุบัน เริ่มพบว่าข้อเข่าเสื่อม
ได้พบเร็วมากขึ้นในคนที่อายุ
เพียงแค่ 30-40ปี😱
.
เพราะว่าทุกวันนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเรายังเพิ่มโอกาสการสึกหรอของข้อเข่ามากขึ้น

ไม่ว่าพฤติกรรมการทานอาหารมากเกินไป
จนเกิดเป็นความอ้วน
หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดิน
วิ่ง หรือกระโดดบ่อยๆ
มักจะพบในกลุ่มนักกีฬา
.
.
หมอเคยเจอคนไข้คนหนึ่งครับ
เป็น ผู้หญิง อายุเพียงแค่ 40 ปี
เป็นข้อเข่าเสื่อมและปวดจนต้องมา
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อแล้ว😱
.
ใช่ครับ เธอปวดเข่าเรื้อรังมาตั้งแต่อายุ
ประมาณ 30 ต้นๆ
เหตุผลเพราะอะไรนะหรอครับ
เพราะ เธอมีน้ำหนักที่มากเกินไปไงล่ะครับ
เธอน้ำหนักเกือบ 100 กิโลกรัม
ตอนอายุ 20 ปี เธอจึงเกิดอาการ
ข้อเข่าเสื่อมได้ไวกว่าคนอื่น
(ซึ่งตอนนั้นเธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการที่น้ำหนักมาก
จะเป็นความเสี่ยงให้เราเป็นข้อเข่าเสื่อม)!!!
.
หรือแม้กระทั่งครับ
หลายคนเริ่มมีสัญญาณเตือนของ
ข้อเข่าเสื่อมมาแล้ว แต่เราไม่รู้ ไม่ได้สนใจ
คิดว่าไม่มีอะไรผิดปกติ

รู้ตัวอีกที ก็ปวดมากจนไม่สามารถแก้ไข
ได้อีกแล้ว สุดท้ายก็ต้องผ่าตัด😭

👨‍⚕️ดังนั้น หมอเห็นความสำคัญของ
เรื่องข้อเข่าเสื่อมมากๆ
อัลบั้มนี้ หมอจึงตั้งใจเขียนมาบอก
สิ่งที่ทุกคนต้องรู้. เกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม
ไม่ว่าจะเป็น
📌 สัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม
📌 ความเสี่ยงของคนที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อม
📌 หายปวดข้อเข่าเสื่อมได้ไม่ต้องไปผ่าตัด
📌หายปวดเข่าได้ถ้ากินยาได้ถูกต้อง
.
.
👉👉 ย้ำนะครับ.**** ว่าทุกคนต้องรู้!!!
โดยเฉพาะคนที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน
ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ญาติ ปู่ย่าตายาย
#แชร์บอกพวกท่านด้วยนะครับ

ลองอ่านและทำตามกันดูนะครับ
^
^

ด้วยรักจากใจ

👨‍⚕️#สัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม

#ทำไมต้องรู้สัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม
เพราะว่าจะได้ทำให้เราระมัดระวังตัวไงครับ
เพราะอาการต่างๆที่หมอจะบอกนี้ จะเริ่มบอกแล้วครับว่า เราอาจจะมีอาการข้อเข่าเสื่อม

และอีกเหตุผลหนึ่งคือจะไดไม่ไปสับสนกับ
อาการปวดเข่าจากสาเหตุอื่นๆ

นั่นคือ
📌 มีเสียงในข้อเข่า
📌 ข้อเข่าฝืดตึง
📌 เริ่มขยับข้อเข่าได้น้อยลง
📌 เริ่มมีอาการปวด ในข้อเข่า เวลา นั่งกับพื้น นั่งยองๆ นั่งในอุจจาระสวมซึม นั่งขัดสมาธิได้ลำบาก
📌 เหยียดเข่า งอเข่าทำได้ลำบาก
📌 บางคนอาจจะมีอาการปวดเสี้ยวในข้อเข่า

อาการดังกล่าวต่างๆเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนนะครับว่า เราอาจจะมีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อม

👨‍⚕️#หายปวดข้อเข่าเสื่อมได้ไม่ต้องใช้ยาใน3วิธี

ว่ากันสั้นๆเลย ก็คือ
1. ⭕️หลีกเลี่ยงอาการที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เช่นขึ้นลงบันได นั่งกับพื้น นั่งพับเพียบ
2. ⭕️ลดน้ำหนัก คนอ้วนเห็นผลชัด คนที่ผอมอยู่แล้วทำก็ช่วยได้นะครับ
3. ⭕️ออกกำลังกายของกล้ามเนื้อขา ให้แข็งแรงมากขึ้น
.
.
นอกจากนี้หมอจะมาแนะนำการทานยา
ที่จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
ว่าเราควรทานยาอย่างไร?
ขอให้ทุกๆคนค่อยๆอ่านไปจนจบนะครับ

📕ความเสี่ยงอะไรที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม(1)
👨‍⚕️#อ้วน(น้ำหนักเยอะนั่นเอง)
>> เพราะน้ำหนักการที่เราเดิน ยืน วิ่ง ต่างๆ
จะถ่ายโอนลงมาที่บริเวณเข่า อยู่ตลอดเวลา

คนที่น้ำหนักเยอะ การถ่ายโอนของน้ำหนักก็มาก
กดมากขึ้น มีการกระทบกันของแรงต้นขากับขาก็มากขึ้น
ทำให้ข้อเข่าเราก็จึงเสื่อมได้ไวมากขึ้น กว่าคนที่น้ำหนักน้อย (หรือคนผอม)

📕ความเสี่ยงอะไรที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม(2)
👨‍⚕️#อายุมากขึ้น
>> อายุที่เพิ่มมากขึ้น
เมื่อเราอายุมากขึ้น
ข้อเข่าก็เสื่อมขึ้น เป็นนี้เป็รสัจจธรรม
หมอบอกเลยครับว่า
ทุกคนมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้หมด

แล้วทำไมอายุมากขึ้นเป็นข้อเข่า
ก็เพราะว่า เดิมข้อเข่าเราจะมีน้ำหล่อเลี้ยง เปรียบเสมือนสารหล่อลื่นนะ)
พออายุมากขึ้น ก็เริ่มมีน้อยลง

แล้วกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ ก็ลดลงไปด้วย
ทำให้กระดูก มันสีกันนั่นเอง

📕ความเสี่ยงอะไรที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม(3)
👨‍⚕️#เคยมีประวัติบาดเจ็บข้อเข่านำมาก่อน (trauma)
.
ถามว่าการบาดเจ็บข้อเข่านำมาก่อน เกี่ยวข้องกับอาการข้อเข่าเสื่อมด้วยหรอครับ
.
เกี่ยวครับ ทุกครั้งที่เราบาดเจ็บ (ไม่ว่าจะเอ็นฉีกขาด, หัวเข่าได้รับการกระแทก, ผ่าตัดบริเวณเข่า). สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้

>> เกิดกระบวนการอักเสบ
>> ส่งผลต่อน้ำหล่อเลี้ยง และกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า
>> ทำให้มีการเสื่อมและลดลงเร็วมากขึ้น
>> เราจึงปวดเข่าได้ง่ามากขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น ระมัดระวังด้วยนะครับ
สำหรับคนที่เคยบาดเจ็บที่ข้อเข่านำมาก่อน

เรามีสิทธิที่ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ง่ายมากๆ
.
📌แนะนำก่อนเลยว่า
ให้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาบ่อยๆครับ
(ตามหัวข้อที่จะกล่าวต่อไป)
.

📕ความเสี่ยงอะไรที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม(4)
👨‍⚕️#ผู้หญิง
.
อ้าวทำไมผู้หญิงเป็นปัจจัยเสี่ยงด้วยหรอค่ะหมอ🤔
.
👨‍⚕️ใช่ครับ. โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย อันนี้เป็นธรรมชาตินะครับ

เนื่องจาก
ความกว้างของสะโพกผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
เวลายืนหรือเดิน ต้นขาจะเอียงมากกว่า เกิดแรงดึงสะบ้าให้เอียงไปด้านนอก
ทำให้เกิดการอักเสบ
.
รวมทั้งความหนาและ
ความแข็งแรงของกระดูกผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย. ทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบน้อยกว่า

📕ความเสี่ยงอะไรที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม(5)
👨‍⚕️#การทำงานที่มีการใช้เข่ามากเกินไป
ทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบได้เช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายที่มากเกินไป
การนั่งพับเข่าบนพื้น
การขึ้นลงบันไดวันละหลายๆ รอบ
สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เข่าเสื่อมได้ไวมากขึ้น
.
👉 แนะนำแก้ไข
อาจจะต้องลดท่าทางเหล่านี้ลงบ้าง
ถ้าเรารู้ว่าเรามีโอกาสเสี่ยงสูง
เช่น เป็นผู้หญิง เคยทีอาการบาดเจ็บที่เข่า

คือถ้าคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม
หมอจะแนะนำว่าไม่ให้ทำท่าเหล่านีเลย

📕หายปวดเข่าเสื่อมได้ ถ้าทำตามนี้(1)

👉 #หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้อาการปวดมากขึ้น

(ต้องทำเป็นอย่างแรกจริงๆ)
ได้แก่
📌 นั่งกับพื้น
📌 นั่งคุกเข่า
📌 นังพับเพียบ
📌 ขึ้นลงบันได
📌 นั่งถ่ายอุจจาระส้วมซึม

เพราะท่าทางดังกล่าวนั้น
จะเป็นการเพิ่มความดันให้กระดูกต้นขา และกระดูกขาของเข่ามีโอกาสกดเบียดกันมากขึ้น
เมื่อกระดูกมีการเสียดสีกันหรือความดันในนั้นมากขึ้น

>>> ทำให้เราปวดนั้นเอง!!!😔

และถ้าคนที่ชอบทำบ่อยๆลองสังเกตดูครับ
เข่าเราจะปวดได้ง่ายกว่าคนอื่น!!

ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงจริงๆนะครับ

***หมอจริงจังมากข้อนี้มากๆ***
เพราะยิ่งถ้าเรายังทำท่าทางดังกล่าวนั้นอยู่
จะทำให้ข้อเข่าเสื่อมไวขึ้น
และอาการปวดของเราก็จะไม่หายแน่นอน
ต่อให้เราทานยาแก้ปวดมากขนาดไหน
หมอบอกเลยครับว่า ถ้าไม่ทำข้อนี้
อาการข้อเข่าเสื่อมก็ไม่ดีขึ้น

📕หายปวดเข่าเสื่อมได้ ถ้าทำตามนี้(2)
👉 #ลดน้ำหนัก
เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า. ลองคิดครับ เวลาเรายืน/เดิน ข้อเข่าเนี่ยแหละครับ

เข่าต้องแบกรับแรงกระแทกจากน้ำหนัก
หากเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
เข่าก็รับผิดชอบน้ำหนักมากขึ้น
เข่าก็จะเสื่อมไวขึ้น
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า
ความอ้วน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ไวมากขึ้น

ดังนั้นลดน้ำหนักให้หมอหน่อยนะครับ
แล้วหมอรับรองว่าเข่าของเราจะปวดน้อยลง

📕หายปวดเข่าเสื่อมได้ ถ้าทำตามนี้(3)
👉 #ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา
.
เน้นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
ถามว่าทำไมต้องกล้ามเนื้อต้นขา
ก็เพราะว่าถ้ากล้ามเนื้อส่วนนี้ของเราแข็งแรง
กล้ามเนื้อก็จะช่วยรับแรงกระแทกน้ำหนักของเรา
.
ทำให้เข่าปวดลดลง
และช่วยยืดระยะเวลาในการ
ให้เข่าเสื่อมช้าลงอีกด้วย
^
^
👨‍⚕️หมอขอสอนก่อน 1 ท่าทีง่ายที่สุด
วิธีก็คือ
นั่งเก้าอี้ (เก้าอี้ที่แข็งแรง) เหยียดขาวางกับขนาดกับพื้น จากนั้นกระดกเท้าขึ้น แล้วยกขาขึ้นทั้งขาโดยไม่มีการงอเข่า ให้ยกสูงระดับเดียวกับขา อีกข้าง แล้วค้างไว้ หลายคนจะเอาขึ้นแล้วเอาลง. (อันนี้ผิด)
แต่จริงๆให้ค้างไว้

นับ 1–10 จากนั้นให้วางขาลงทั้งขา
ให้ทำ set ล่ะ 10 ครั้ง วันหนึ่งทำ 10- 20set
ทำทีละข้าง ทำสลับข้างกัน.
.
ว่างเมื่อไหร่ก็ ทำได้เลยครับ😇

 

📕หายปวดเข่าเสื่อมได้ ถ้าทำตามนี้(4)
👉 #รักษาด้วยยาแก้ปวด
จริงๆ เรื่องนี้เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่ หรือแทบจะทุกคนทำ หมอพูดถูกไหมครับ

สำหรับหมอให้ความสำคัญกับข้อนี้เป็นลำดับ
หลัง. แต่ถ้ามันปวดก็ต้องทานครับ😅

📌📌หลักการก็คือ
ยาที่เราทานก็เป็นการแก้อักเสบทั่วไป
ได้แก่
– พาราเซตามอล
– ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs)
– ยาแก้ปวดกลุ่มคอกทูอินฮิบิเตอร์

เนื่องจากมีการเสียดสีกันของกระดูก ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น
จึงทำให้เรามีอาการปวด
ดังนั้น การกินยาแก้ปวดก็มีส่วนช่วยตรงนี้

*****เรื่องยา ต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้งนะครับ*****

📕หายปวดเข่าเสื่อมได้ ถ้าทำตามนี้(อันนี้แถม)
👨‍⚕️#ใช้ยาน้ำหล่อลื่น

ชื่อนี้หมอแต่งเองนะครับ😅😅
จะได้เข้าใจกันง่ายๆ
ที่นิยมในยากลุ่มนี้คือ กลูโคซามีน นั่นเอง
เจ้า กลูโคซามีน เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญ ของน้ำเลี้ยงในข้อ (น้ำหล่อลื่น)
.
ที่ช่วยลดการเสียดสีของเข่า. เมื่ออายุมากขึ้น น้ำหล่อเลี้ยงน้อยลง. เราจึงเริ่มเป็นข้อเข่าเสื่อม
ยากลุ่มนี้จึงมาช่วยในโรคนี้ได้
.
สมัยก่อน
ยาตัวนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับมากนัก
เนื่องจากหลักฐานสนับสนุนว่า
ยาตัวนี้มีประโยชน์ยังน้อยอยู่
.
แต่ในปัจจุบันนี้ มีการวิจัยกันมากขึ้น
ว่าสามารถช่วยได้ในคนที่ข้อเข่าเสื่อมได้
.
👨‍⚕️แต่หมอแนะนำแบบนี้ครับ
.
ตามมาตรฐานการรักษาเราจะรักษาโดยใช้ยาตัวนี้ต่อเมื่อ
– ผู้ป่วยที่รักษาโดยการไม่ใช้ยาและใช้ยายังไม่ได้ผล
– มีข้อห้ามในการใช้ยา
– แก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
.
.
📌📌 ประเด็นเพิ่มเติมก็คือ
ยาตัวนี้เป็นยาเพิ่มสารหล่อลื่น และกว่าจะออกฤทธิ์ใช้เวลานาน

ดังนั้นควรทานยาแก้ปวดควบคู่กันไปด้วย ในช่วงที่มีอาการปวดเข่า
พอจะเข้าใจไหมครับ

*****เรื่องยา ต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้งนะครับ*****

Share this
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn